สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง
Fiscal Policy Office
Search
เปลี่ยนการแสดงผล :
THTHLanguage
รู้จักสำนักกฎหมาย

รู้จักสำนักกฎหมาย

รู้จักสำนักกฎหมาย

วิสัยทัศน์ของสำนักกฎหมาย
“หน่วยงานหลักด้านกฎหมายเศรษฐกิจการคลังของประเทศ”
 
สำนักกฎหมาย มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้

(1) ดำเนินการยกร่าง ปรับปรุงแก้ไข ยกเลิกกฎหมาย ระเบียบ คำสั่ง ประกาศ หรือนิติกรรมสัญญาต่าง ๆ ในด้านการเงิน การคลัง ภาษีอากร การออม การลงทุน และการเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้อง
(2) ดำเนินการเกี่ยวกับงานนิติกรรมและสัญญา งานเกี่ยวกับความรับผิดทางแพ่งและอาญา งานคดีปกครอง และงานคดีอื่นที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของสำนักงาน
(3) ดำเนินการศึกษาวิเคราะห์กฎหมายในด้านการเงิน การคลัง ภาษีอากร การออม การลงทุน และการเศรษฐกิจ เพื่อวางแผนและพัฒนาปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
(4) ให้คำปรึกษาและเสนอแนะความเห็นทางกฎหมายในด้านการเงิน การคลัง ภาษีอากร การออม การลงทุน และการเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้องแก่หน่วยงานในสังกัดสำนักงาน
(5) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

พันธกิจของสำนักกฎหมาย
1. พัฒนาและสนับสนุนงานด้านกฎหมายเศรษฐกิจการคลัง โดยการยกร่างกฎหมาย ประกาศ ระเบียบต่าง ๆ รวมทั้งเสนอแนะความเห็นทางกฎหมายต่อหน่วยงานต่าง ๆ ในสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนงานคดีที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงการคลังและสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
2. พัฒนาระบบข้อมูลทางกฎหมายเศรษฐกิจการคลังให้มีความถูกต้องและทันสมัย โดยการนำระบบอิเล็กทรอนิกส์ มาใช้
3. เผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายที่สำนักงานเศรษฐกิจการคลังเสนอและกฎหมายที่ออกตามนโยบาย หรือมาตรการต่าง ๆ ของสำนักงานเศรษฐกิจการคลังแก่หน่วยงานและบุคคลทั่วไป เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง
 
เป้าประสงค์ของสำนักกฎหมาย
1. เพื่อให้มีผลงานด้านกฎหมายเศรษฐกิจการคลังที่ทันสมัย เป็นที่ยอมรับและสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน
2. เพื่อประสานงานที่ดีกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
3. เพื่อเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ และให้บุคลากรมีความเชี่ยวชาญด้านกฎหมายเศรษฐกิจการคลัง
4. เพื่อให้บุคลากรในสำนักกฎหมาย มีระเบียบวินัยและจรรยาบรรณในวิชาชีพ
 
ยุทธศาสตร์ของสำนักกฎหมาย
1. เสนอกฎหมายเศรษฐกิจการคลังเพื่อสนับสนุนการเสนอแนะนโยบายของสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
2. เสริมสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานอื่นในการตรากฎหมาย
3. ส่งเสริมให้ความรู้แก่บุคลากรด้านกฎหมายเศรษฐกิจการคลังและด้านอื่น ๆ อย่างต่อเนื่อง
4. เสริมสร้างวินัยและจรรยาบรรณให้แก่บุคลากร