สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง
Fiscal Policy Office
Search
เปลี่ยนการแสดงผล :
THTHLanguage
     

    บทสรุปงานสัมนาเชิงวิชาการเรื่องนวัตกรรมทางการเงิน(5)

    หัวข้อ :  เรื่อง Credit Enhancement and Securitizations – Types, Mechanism, Structures,       
                  Applications (including MBS)
    ผู้บรรยาย: Dr. Ang Kian Ping, Senior Director, Structured Product Group, United Overseas Bank
    บทสรุป:

              Securitization เป็นกระบวนการที่ส่งผ่านบทบาทการเป็นผู้ให้กู้ยืมของธนาคารพาณิชย์ (รวมทั้งสถาบันการเงินอื่น) ไปสู่การให้ผู้กู้ยืมได้พบกับผู้ให้กู้ (ตลาดทุน) โดยตรง โดยกรรมวิธีการแปลงสินเชื่อหรือลูกหนี้เงินกู้ (เช่น หลักทรัพย์จำนอง บัตรเครดิต เป็นต้น) เป็นหลักทรัพย์ พร้อมกับการเพิ่มระดับความน่าเชื่อถือ (Credit enhancement) หรือเพิ่ม Rating ในการดำเนินธุรกิจของลูกหนี้ให้แก่นักลงทุน
              การทำ Securitization ช่วยให้เกิดการพัฒนาในตลาดทุนไทย เพิ่มช่องทางการระดมทุน การแปลงบัญชีลูกหนี้ให้เป็นเงินสด ทำให้สถานภาพของงบดุลของกิจการดีขึ้น ตลอดจนลดต้นทุนทางการเงินของผู้ทำ Securitization ซึ่งสินทรัพย์ที่สามารถนำมาทำ Securitization ได้แก่ ภาระหนี้ประเภทต่างๆ เช่น หนี้สินจดจำนอง กองทุนอสังหาริมทรัพย์ (Real estate investment trust, REIT) ลูกหนี้บัตรเครดิต หนี้ส่วนบุคคล หนี้เช่าซื้อรถ หนี้การศึกษา หนี้การค้า เป็นต้น ทั้งนี้ ขั้นตอนการทำงานของ Securitization ก็โดยการนำสินทรัพย์ (Securitization assets) โอนไปสู่ SPV (หรือนิติบุคคลเฉพาะกิจ) จากนั้น SPV จะออกตราสารที่เรียกว่า ABS (Asset back securities) เพื่อนำเงินที่ได้มาชำระค่าสินทรัพย์นั้นๆ แก่ผู้ขาย (เป็นกระแสเงินสดในภายหลัง) ทั้งนี้ สินทรัพย์ที่เหมาะแก่การทำ Securitization ควรมีคุณสมบัติสำคัญคือสามารถแปลงเป็นกระแสเงินสดได้โดยไม่ก่อผลกระทบในภายหลัง สามารถประเมินค่าได้และเป็นที่ยอมรับจาก Rating agencies ตลอดจนสามารถถ่ายโอนได้
              การเพิ่มระดับความน่าเชื่อถือ (Credit enhancement) มีความจำเป็นต่อการทำ Securitization โดยประเภท และขนาดของการทำ Credit enhancement จะขึ้นอยู่กับความเสี่ยงของการทำ Securitization ซึ่งอาจจะกำหนดโดยผู้จัดอันดับความน่าเชื่อถือ หรือตัวนักลงทุนเองเพื่อที่จะลดความเสี่ยงของนักลงทุน เพิ่มระดับ Rating ของหลักทรัพย์ หรือเพื่อลดต้นทุนของ Originator ทั้งนี้ รูปแบบของ Credit enhancement มีได้หลายรูปแบบ ได้แก่ Senior/subordinator structure ซึ่งเป็นรูปแบบที่สำคัญสุด รวมทั้งรูปแบบอื่นๆ ได้แก่ Over-collaterization, cash collateral account, reserve fund ,liquidity provider, securities bond เป็นต้น
              ตัวอย่างของ Securitization ที่แพร่หลายในสิงคโปร์ คือ การแปลงอสังหาริมทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ (Securitization of real estate) หรือที่เรียกว่า REITs ซึ่งได้รับความนิยมและประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก โดยสามารถให้ผลตอบแทนที่สูง มีสภาพคล่องที่ดี ได้แก่ SUNTEC REITs, CapitaMall REITs, A – REITs
    ตัวอย่างการประยุกต์ใช้ Securitization (ในสิงคโปร์) ได้แก่
              1. CDOs หรือ Collateralised debt obligations เป็นการทำธุรกรรมโดยการที่ SPV ออกหลักทรัพย์ เพื่อระดมเงินในการซื้อสินทรัพย์ ซึ่งสินทรัพย์เหล่านั้นอาจเป็นสินทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนสูง ลูกหนี้ในตลาดเกิดใหม่ (Emerging market debt) ตราสารหนี้ในระดับน่าลงทุน หรือตราสารทางการเงินที่เกี่ยวเนื่องกับสินเชื่อ โดยผู้ลงทุนสามารถซื้อหลักทรัพย์ที่ออกโดย SPV โดยได้รับส่วนแบ่งจากรายได้ของสินทรัพย์ที่หนุนหลังตราสารนั้น
              2. MBS หรือ Mortgage-back securities เกิดจากการนำสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย (Mortgage loan) เข้าสู่กระบวนการ Securitization แล้วขายให้แก่นักลงทุน ซึ่งผู้ลงทุนใน MBS จะได้รับผลตอบแทนจากดอกเบี้ยสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยดังกล่าวตามที่กำหนดโดยสถาบันการเงินผู้ปล่อยกู้ (Loan originator) ซึ่งเท่ากับลูกหนี้จะชำระทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยแก่นักลงทุน
              ทั้งนี้ คาดว่า Securitization หรือกระบวนการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ นั้น จะเป็นนวัตกรรมที่มีบทบาทสำคัญมากขึ้น และเอื้อประโยชน์ผ่านตลาดทุนในหลายๆ ประเทศ ทั้งในภาคเอกชนและภาครัฐ โดยประเทศไทย คาดว่าจะมีประโยชน์ในการแบ่งเบาภาระรายจ่ายของภาครัฐในด้านการเป็นเครื่องมือผ่านการระดมทุนผ่านโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่


     

Page View : 569