ตอบ ระบบบำเหน็จบำนาญในประเทศไทย เริ่มขึ้นตั้งแต่รัชการสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัฐกาลที่ 5) โดยให้มีการตราพระราชบัญญัติเพื่อจ่ายเบี้ยบำนาญขึ้นเป็นครั้งแรก เมื่อปีพุทธศักราช 2444 เรียกว่า พระราชบัญญัติเบี้ยบำนาญ รัตนโกสินทร์ ศก 120 ซึ่งต่อมาได้แก้ไขเป็นพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ.2449 มีลักษณะที่รัฐบาลรับภาระชำระเงินให้แก่ข้าราชการแต่ละคนด้วยเงินจำนวนหนึ่งเมื่อเกษียณอายุ (Pay-as-you-go) ตามสูตรการคำนวณที่อิงจากเงินเดือนสุดท้ายและอายุงานเป็นหลัก และจัดตั้งงบประมาณไว้ครั้งละ 1 ปี ตามแต่การคำนวณยอดของผู้ครบเกษียณอายุในปีนั้น ๆ
(1) ลักษณะกองทุนเป็นการออมแบบบังคับกำหนดผลประโยชน์ทดแทนแน่นอน (Defined Benefit) โดยตัดจ่ายจากงบประมาณในรูปบำนาญ
(2) ความครอบคลุม ข้าราชการ
(3) อัตราสะสมสมทบ ข้าราชการไม่ต้องจ่ายเงินสะสมเข้ากองทุน
(4) การจ่ายผลประโยชน์ทดแทน รัฐบาลรับภาระจ่ายให้ตามอัตราที่กำหนดเมื่อเกษียณอายุ ตามสูตรการคำนวณที่อิงจากเงินเดือนเดือนสุดท้ายและอายุงาน
(5) การบริหารจัดการ กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง