ตอบ โดยทั่วไปนิติบุคคลจะมีภาระภาษีเงินได้นิติบุคคลอัตราร้อยละ 30 จากกำไรสุทธิต่อปี อย่างไรก็ตาม รัฐบาลได้ให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีเพื่อสนับสนุนและจูงใจให้มีการดำเนินการเพื่อสนองนโยบายรัฐบาลต่างๆ โดยสิทธิประโยชน์ทางภาษีเงินได้นิติบุคคล มีดังต่อไปนี้
1. มาตรการภาษีเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาตลาดทุนไทย โดยการปรับลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลเพื่อจูงใจให้บริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์และตลาด MAI (พระราชกฤษฎีกาฉบับที่ 387) ดังนี้
1.1 อัตราร้อยละ 25 สำหรับบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์อยู่ปัจจุบัน (ก่อนวันที่ 5 กันยายน 2544) และมีกำไรสุทธิไม่เกิน 300 ล้านบาท เป็นระยะเวลาไม่เกิน 5 รอบระยะเวลาบัญชีต่อเนื่องกัน
1.2 อัตราร้อยละ 25 สำหรับบริษัทใหม่ที่เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ตั้งแต่วันที่ 5 กันยายน 2544 ถึง 31 ธันวาคม 2548 เป็นระยะเวลาไม่เกิน 5 รอบระยะเวลาบัญชีต่อเนื่องกัน
1.3 อัตราร้อยละ 20 สำหรับบริษัทใหม่ที่เข้าจดทะเบียนใน MAI ตั้งแต่วันที่ 5 กันยายน 2544 ถึง 31 ธันวาคม 2548 เป็นระยะเวลาไม่เกิน 5 รอบระยะเวลาบัญชีต่อเนื่องกัน
2. มาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) (พระราชกฤษฎีกาฉบับที่ 394)ปรับลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับผู้ประกอบการขนาดย่อมเฉพาะกรณีที่มีทุนจดทะเบียนชำระแล้วไม่เกิน 5 ล้านบาท ดังนี้
กำไรสุทธิ (บาท) อัตราภาษี (ร้อยละ)
1 � 1,000,000 20
1,000,001 � 3,000,000 25
3,000,001 ขึ้นไป 30
3. มาตรการภาษีเพื่อปรับปรุงโครงสร้างหนี้ (ขยายเวลาการยกเว้นภาษีสำหรับสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่จะสิ้นสุดในปี พ.ศ. 2546 ออกไปถึง 31 ธันวาคม 2547) (พระราชกฤษฎีกาฉบับที่ 418)
4. มาตรการสนับสนุนการจัดตั้งสำนักงานปฏิบัติการภูมิภาค (Regional Operating Headquater: ROH) (พระราชกฤษฎีกาฉบับที่ 405 และ 406)
4.1 ลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลเหลือร้อยละ 10 ของกำไรสุทธิให้แก่ ROH เฉพาะรายได้จากการให้บริการ ด้านการบริการ ด้านการบริหาร ด้านเทคนิคและบริการสนับสนุนอื่นๆ
4.2 ลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลเหลือร้อยละ 10 ของกำไรสุทธิให้แก่ ROH สำหรับเงินได้ค่าสิทธิที่สำนักงานได้จากการวิจัยและพัฒนา (ที่ทำในไทย)
4.3 ลดอัตราภาษีเงินได้ เหลืออัตราร้อยละ 10 ของกำไรสุทธิให้แก่ ROH สำหรับดอกเบี้ยที่ได้รับจากบริษัท/ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลในเครือเดียวกันหรือสาขา
4.4 ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับเงินปันผลที่ให้แก่ ROH
4.5 ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลให้แก่บริษัท/ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศและมิได้ประกอบกิจการในประเทศไทย
4.6 ให้ ROH สามารถหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สินประเภทอาคารถาวรที่สำนักงานซื้อหรือได้รับโอนกรรมสิทธิ์ในอัตราร้อยละ 25 ของมูลค่าต้นทุน ส่วนที่เหลือให้ทยอยหักภายในระยะเวลา 20 ปี
5. กรณีการประกอบกิจการวิเทศธนกิจ ได้แก่
5.1 กิจการวิเทศธนกิจเพื่อการให้กู้ยืมต่างประเทศ (Out-Out)
5.2 กิจการวิเทศธนกิจเพื่อการให้กู้ยืมในประเทศ (Out-in)
5.3 กิจการวิเทศธนกิจอื่นๆ (พระราชกฤษฎีกา ฉบับที่ 259, 260 และ 307)
ประเภทกิจการ
|
ภาษีเงินได้นิติบุคคล
(ร้อยละ)
|
ภาษีธุรกิจเฉพาะ
(ร้อยละ)
|
อากรแสตมป์
|
ภาษีการจำหน่ายกำไร
(ร้อยละ)
|
ภาษีหัก ณ ที่จ่าย
ดอกเบี้ยที่ส่งไป
ต่างประเทศ (ร้อยละ)
|
OUT � OUT
|
10
|
ยกเว้น
|
ยกเว้น
|
ยกเว้น
|
ยกเว้น
|
OUT � IN
|
10
|
ยกเว้น
|
ยกเว้น
|
10
|
10
|
|
หรือ 0
|
|
|
|
|
วิเทศธนกิจอื่น
|
10
|
ยกเว้น
|
ยกเว้น
|
10
|
10
|
วานิชธนกิจอื่น
|
30
|
3
|
ไม่ยกเว้น
|
10
|
10
|
กรณีทั่วไป
|
30
|
3
|
ไม่ยกเว้น
|
15
|
15
|