1. ค่าพาหนะ เมื่อเดินทางไปประจำในต่างประเทศ
1.1 กรณีคู่สมรส บุตร หรือผู้ติดตาม จำเป็นต้องเดินทางกลับไทยก่อนข้าราชการ ให้กระทรวงเจ้าสังกัดทำความตกลงกับกระทรวงการคลังจึงจะเบิกจ่ายค่าพาหนะได้ ค่าพาหนะกลับไทยสำหรับบุตร ต้องเดินทางกลับภายใน 3 ปี นับแต่วันที่ข้าราชการเดินทางกลับ
1.2 ข้าราชการซึ่งออกจากราชการหรือลูกจ้างซึ่งทางราชการเลิกจ้าง จะเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางสำหรับตนเองและบุคคลในครอบครัวได้เฉพาะค่าเช่าที่พัก ค่าพาหนะ และค่าขนย้ายสิ่งของส่วนตัวเพื่อกลับภูมิลำเนาเดิม (การเดินทางและการขนย้ายสิ่งของให้กระทำภายใน 180 วัน นับแต่วันออกจากราชการ หรือจ้าง หากเกินต้องขอตกลงกับกระทรวงการคลัง)
1.3 ข้าราชการซึ่งถูกพักราชการหรือลูกจ้างซึ่งถูกพักการจ้าง จะเบิกค่าใช้จ่ายสำหรับตนเองและบุคคลในครอบครัวเฉพาะค่าเช่าที่พัก ค่าพาหนะ และค่าขนย้ายสิ่งของส่วนตัวเพื่อกลับไทย โดยจะไม่รอผลการสวบสวนถึงที่สุดก็ได้
2. ค่าใช้จ่ายในการย้ายถิ่นที่อยู่ ให้เบิกในลักษณะเหมาจ่าย เดินทางกลับประเทศไทย (เดินทางพร้อมกัน) เบิกได้ 3 เท่าของ พ.ข.ต. ที่ได้รับครั้งสุดท้ายก่อนเดินทางกลับไทย |
1. พระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. 2526 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ลักษณะ 3 หมวด 2 การเดินทางไปราชการประจำในต่างประเทศ
2. พระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2560
3. ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกจ่ายใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. 2550
4. ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกจ่ายใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2554 |
1. แบบรายงานการเดินทางไปราชการ (แบบ 8708)
2. หลักฐานการจ่ายเงิน (ใบเสร็จรับเงิน ใบสำคัญรับเงิน ใบรับรองการจ่ายเงิน เป็นต้น) |