การจัดทำข้อตกลงเป็นหนังสือโดยไม่ทำตามแบบสัญญา |
หน่วยงานของรัฐอาจจัดทำข้อตกลงเป็นหนังสือโดยไม่ทำตามแบบสัญญาตามมาตรา 93 ในกรณีดังนี้
1) การจัดซื้อจัดจ้าง
- โดยวิธีคัดเลือก กรณีมีความจำเป็นเร่งด่วน
- โดยวิธีเฉพาะเจาะจง กรณีซื้อจ้างพัสดุที่มีวงเงินไม่เกิน 500,000 บาท กรณีจำเป็นต้องใช้พัสดุนั้นโดยฉุกเฉิน และกรณีพัสดุที่ขายทอดตลาด
2) การจัดซื้อจัดจ้างจากหน่วยงานของรัฐ
3) กรณีที่คู่สัญญาส่งมอบพัสดุได้ครบถ้วนภายใน 5 วัน
ทำการ
4) กรณีการเช่าซึ่งผู้เช่าไม่ต้องเสียเงินอื่นใดนอกจากค่าเช่า
5) กรณีอื่นตามที่คณะกรรมการนโยบายกำหนด คือ
5.1) จัดซื้อจัดจ้างโดยวิธีคัดเลือก
- กรณีพัสดุที่ต้องการซื้อหรือจ้างมีคุณลักษณะเฉพาะ
- กรณีพัสดุที่ใช้ในราชการลับ
- กรณีงานจ้างซ่อมพัสดุที่ต้องถอดตรวจ เช่น
ซ่อมเครื่องจักร
5.2) จัดซื้อจัดจ้างโดยวิธีเฉพาะเจาะจง
- กรณีการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุที่มีผู้ประกอบการ
รายเดียว
- กรณีพัสดุที่จัดซื้อจัดจ้างเพิ่มเติมหรือต่อเนื่อง
- กรณีจัดซื้อจัดจ้างพัสดุโดยฉุกเฉิน |
- พระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 มาตรา 96
- กฎกระทรวงกำหนดวงเงินการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุโดยวิธีเฉพาะเจาะจง วงเงินการจัดซื้อจัดจ้างที่ไม่ทำข้อตกลงเป็นหนังสือ และวงเงินการจัดซื้อจัดจ้างในการแต่งตั้งผู้ตรวจรับพัสดุ พ.ศ. 2560
- ประกาศคณะกรรมการนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ เรื่อง การจัดทำข้อตกลงเป็นหนังสือในกรณีอื่นตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 22 มิถุนายน 2561 |