สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง
Fiscal Policy Office
Search
เปลี่ยนการแสดงผล :
THTHLanguage
การบันทึกข้อมูลผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ของกลุ่มที่ปรึกษาเศรษฐกิจและการคลังในต่างประเทศ

การส่งมอบงานของอัครราชทูต

ประเด็น
คำอธิบาย พรบ./คำสั่ง/กฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง
   การจัดทำรายงานงบประมาณ ในปีงบประมาณ 2566 ยังให้ดำเนินการจัดทำและนำส่งทางไปรษณีย์ตามที่ผ่านมาหรือให้จัดทำผ่านระบบการบันทึกข้อมูลผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์   บันทึกข้อมูลผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ สำหรับเอกสารหลักฐานโดยขอให้จัดส่งมายังประเทศไทยปีละ 2 ครั้ง
(ครั้งละ 6 เดือน ครั้งที่ 1 ต.ค. - มี.ค.
ครั้งที่ 2 เม.ย. - ก.ย.) เพื่อให้สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินตรวจสอบ
 
   กรณีรายจ่ายหรือรายรับที่เกิดขึ้นนอกเหนือจากรายการประจำ เช่น ค่าจ้างเหมาบุคคลมาช่วยงานของสำนักงานที่ปรึกษาฯ เงินทดแทนลูกจ้างในกรณีลาออกหรือเกษียณ
เงินคืนค่ามัดจำบ้านพักของข้าราชการจะให้ดำเนินการอย่างไร
   - ค่าจ้างเหมา ให้บันทึกใน
“ค่าตอบแทนบุคคลภายนอก”
   - เงินทดแทน ให้บันทึกใน
“ค่าจ้างย้อนหลัง/ตกเบิก/เงินทดแทน”
 
   กรณีที่สำนักงานที่ปรึกษาฯ (อาจจะ) มีค่าใช้จ่ายบางรายการเกิดขึ้น เช่น
- ค่าจ้างเหมาบริการจ้างบุคคลมาช่วยงานรับคณะ เช่น คนขับรถ เจ้าหน้าที่ประสาน ล่าม
- ค่าออกสมุดเช็คของสำนักงานเล่มใหม่กับธนาคารกรุงเทพ
- ค่าพวงมาลาวันเนื่องในงานวันปิยมหาราช
- ค่าสมาชิก Japan Automobile Federation
(จ่ายให้แก่ สหพันธ์รถยนต์ประเทศญี่ปุ่น ให้บริการช่วยเหลือ
ในกรณีฉุกเฉิน เช่น บริการรถลาก ช่วยเหลือเวลารถตกหลุมหรือติดหิมะไม่สามารถขยับได้)
- ค่าปรับปรุงฟื้นฟูบ้านพักข้าราชการ
ในกรณีที่ยกเลิกสัญญาเช่า แล้วต้องจ่ายให้แก่ผู้ให้เช่าตามสัญญาที่ระบุไว้ ดังนั้น ค่าใช้จ่ายเหล่านี้ ใส่ตรงค่าใช้สอยอื่น ๆ
ในหมวดค่าใช้สอยหรือไม่อย่างไร
   - ค่าจ้างเหมา บันทึกใน
“ค่าตอบแทนบุคคลภายนอก”
   - สำหรับค่าใช้จ่ายอื่น ๆ บันทึกใน
“ค่าใช้สอยอื่น ๆ” และเพิ่มรายละเอียด
ในหมายเหตุ
 
   กรณีที่มีการรับเงินอื่น ๆ เช่น ค่าเช่าบ้านของอัครราชทูตท่านเดิม ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปดำรงตำแหน่ง เป็นต้น
กรณีนี้ให้ใส่ในรายงานรายได้อื่น ตรงช่องรายได้อื่นใช่หรือไม่
   - ค่าเช่าบ้านของอัครราชทูตท่านเดิม
บันทึกใน “รับคืนค่าตอบแทน”
   - ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปดำรงตำแหน่ง บันทึกใน “ค่าใช้สอย
(ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ)”
 

การเบิกจ่ายค่าเชื้อเพลิงของผู้ใช้รถประจำตำแหน่ง

ผู้ใช้รถประจำตำแหน่งเป็นผู้จ่ายค่าเชื้อเพลิงเอง ในกรณีที่นำรถไปใช้ในการปฏิบัติหน้าที่ ซึ่งนอกเหนือไปจากหน้าที่ปกติประจำให้เบิกจ่ายเชื้อเพลิงหรือเบิกค่าเชื้อเพลิงได้ ทั้งนี้ หัวหน้าส่วนราชการต้องรับรองทุกครั้งว่าได้มีการนำรถประจำตำแหน่งไปใช้ในกรณีดังกล่าวจริง

ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วย
รถราชการ 2523 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2530 (ฉบับที่ 3)
พ.ศ. 2535 (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2538
(ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2538 (ฉบับที่ 6)
พ.ศ. 2545