ประเด็นที่ 1: บทบาทของผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูงในการพัฒนา Online Government Service ที่สามารถให้บริการภาครัฐหรือประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
แนวทางการประเมิน
หลักฐานที่สอดคล้องกับแนวทางการประเมิน
1. มีการแต่งตั้ง CIO และ CIO ต้องมีบทบาทอย่างน้อย 1 บทบาท ดังนี้
1.1 CIO เข้ารับการอบรมหลักสูตรที่เกี่ยวข้อง อย่างน้อย 1 หลักสูตร
1.2 มีการกำหนดนโยบายการพัฒนาระบบสารสนเทศภาครัฐ ที่สอดคล้องกับนโยบายเศษฐกิจดิจิทัล หรือจัดทำแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของหน่วยการที่สอดคล้องกับ (ร่าง) แผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ฉบับที่ 3) ของประเทศไทย พ.ศ. 2557-2561 (เอกสารแนบ)
1.3 มีการเปิดเผยข้อมูลผลการดำเนินงานของหน่วยงานผ่านทางเว็บไซต์
2. CIO มีบทบาทในการพัฒนาระบบบริการอิเล็กทรอนิกส์ (e-Government Service) ของหน่วยงาน ตามดัชนีการให้บริการอิเล็กทรอนิกส์ (Maturity Level) อย่างน้อย 1 บริการ (เอกสารแนบ)
1. คำสั่งแต่งตั้ง หรือ มอบหมายให้ปฎิบัติหน้าที่ผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูง Chief Information Officer : CIO) ของหน่วยงาน (เอกสารแนบ)
2. ประกาศนียบัตรหรือหลักฐานที่แสดงว่าผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรด้านการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร ดังนี้
1) หลักสูตรผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูง CIO (Chief Information Officer) โดยกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
2) หลักสูตรรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์สำหรับผู้บริหารระดับสูง (รอส.) โดยสำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) (สรอ.)
3) หลักสูตร E-Government Exchange Program โดยสำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) (สรอ.)
4) หลักสูตรฝึกอบรมผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูง โดยสำนักงาน ก.พ. ร่วมกับสถาบันวิทยาการ สวทช. (NSTDA Academy)
5) หลักสูตรปริญญาโทนโยบายและการบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ (CIO) โดยวิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ทั้งนี้ หลักสูตรอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ขอให้อยู่ในการพิจารณาของกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
3. เอกสารหรือหลักฐานที่แสดงการกำหนดนโยบายการพัฒนาระบบสารสนเทศภาครัฐที่สอดคล้องกับนโยบายเศรษฐกิจดิจิทัล หรือแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของหน่วยงาน (เอกสารแนบ)
4. หลักฐานภาพหน้าจอ (Capture) หรือ Link สำหรับแสดงข้อมูลผลการดำเนินงาน หรือข้อมูลที่หน่วยงานจัดทำขึ้นเพื่อเผยแพร่ให้กับประชาชนหรือหน่วยงานภาครัฐรับทราบหรือใช้ประโยนช์ เช่น รายงานประจำปีของหน่วยงาน รายงานผลการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาล ประกาศหลักการต่างๆ เป็นต้น (เอกสารแนบ) (link รายงานประจำปี)
5. หน้าจอเว็บไซต์ที่แสดงถึงการพัฒนาระดับการให้บริการอย่างน้อย 1 บริการ เช่น เว็บไซต์เดิมเป็นระดับการให้ข้อมูล แต่มีการพัฒนาระบบบริการให้มีการดาวน์โหลดแบบฟอร์มหรือมีภาษาในการแสดงผลให้เลือกที่หลากหลายขึ้น เป็นต้น (เอกสารแนบ)
ประเด็นที่ 2: การจัดทำข้อมูลของศูนย์ปฎิบัติระดับกรม (Department Operation Center: DOC)
1. มีการทบทวนข้อมูลให้มีความถูกต้องครบถ้วนตามภารกิจของหน่วยงาน
2. มีแผนหรือมีการทบทวนแผนในการบูรณาการระบบศูนย์ปฎิบัติการระดับกรม (DOC)
หรือระบบฐานข้อมูลที่สนันสนุนภารกิจหลักของหน่วยงานที่เชื่อมกับศูนย์ปฎิบัติการระดับกระทรวงฯ (MOC)
3. มีการปรับปรุงข้อมูลให้มีความทันสมัย (Update)
4. มีการสำรองข้อมูล (Back Up)
5. กรณีระบบล่มสามารถแก้ไขให้ใช้งานได้ภายใน 24 ชั่วโมง (Recovery)
1. รายงานการประชุมทบทวนข้อมูลให้มีความถูกต้องครบถ้วนตามภารกิจของท่าน (เอกสารแนบ)
2. รายงานแผน หรือรายงานการทบทวนแผนในการบูรณาการระบบศูนย์ปฎิบัติการระดับกรม (DOC) หรือระบบฐานข้อูลที่สนันสนุนภารกิจหลักของหน่วยงานที่เชื่อมกับศูนย์ปฎิบัติการระดับกระทรวงฯ (MOC) (link หน้าจอระบบ)
3. หลักฐานหน้าจอระบบ DOC ที่เป็นปัจจุบัน (link หน้าจอระบบ)
4. คู่มือการสำรองข้อมูล (Back Up)
5. คู่มือในการแก้ไขระบบศูนย์ปฎิบัติการระดับกรมกรณีล่ม (Recovery)
ประเด็นที่ 3: วางแผนการใช้มาตรฐานการแลกเปลี่ยนข้อมูลตามกรอบแนวทางการเชื่อมโยงรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ (Thailand e-GovernmentInteroperability Framework : Th e-GIF)
1. มีการสร้างความเข้าใจภายในหน่วยงานเกี่ยวกับแนวทางและประโยชน์ของการใช้มาตรฐานการแลกเปลี่ยนข้อมูลในการพัฒนาระบบสารสนเทศ (เอกสารแนบ)
2. มีการวางแผนการใช้มาตรฐานการแลกเปลี่ยนข้อมูลในการพัฒนาระบบสารสนเทศ
3. มีการใช้มาตรฐานการแลกเปลี่ยนข้อมูล เป็นกรอบในการพัฒนาระบบสารสนเทศ อย่างน้อย 1 ระบบ(เอกสารแนบ)
1. รายงานการประชุม หรือสรุปผลการประชุม หรือบันทึกการหารือ หรือบันทึกช่วยจำที่เกี่ยวกับการสร้างความเข้าใจภายในหน่วยงานเกี่ยวกับแนวทาง และประโยชน์ของการใช้มาตรฐานการแลกเปลี่ยนข้อมูลในการพัฒนาระบบสารสนเทศ
2. แผนการใช้มาตรฐานการแลกเปลี่ยนข้อมูลในการพัฒนาระบบสารสนเทศของหน่วยงานตนเอง
3. ชื่อระบบและรายชื่อรายการข้อมูลที่ใช้ในการพัฒนาระบบ
ประเด็นที่ 4: ระดับความสำเร็จในการพัฒนาปรับปรุงระบบเครือข่ายสารสนเทศภาครัฐ ให้มีความมั่นคงปลอดภัย (Secure Intranet)
1. ความต่อเนื่องในการให้บริการ (Network SLA) สำหรับระบบเครือข่ายสื่อสารข้อมูลสารสนเทศภาครัฐ กำหนดไม่น้อยกว่าร้อยละ 99.5 (เอกสารแนบ)
2. แผนบูรณาการระบบเครือข่ายสารสนเทศภาครัฐกำหนดให้เป็นความร่วมมือภายในกระทรวง หรือหน่วยงานภาครัฐอื่นๆ
3. มาตรการรักษาความปลอดภัยกำหนดให้มีระบบป้องกันการโจมตีสำหรับเครือข่ายภาครัฐ (เอกสารแนบ)
1. รายงานการสรุปการคำนวณความต่อเนื่องในการให้บริการตามสูตรที่กำหนด(เอกสารแนบ) (เอกสารแนบ)
2. เอกสารแผนที่หน่วยงานมีการตกลงและบริหารจัดการระบบเครือข่ายข้อมูลสารสนเทศร่วมกัน ภายในกระทรวงหรือร่วมกับหน่วยงานต้นสังกัดหรือหน่วยงานภาครัฐอื่นๆ โดยได้การรับรองจาก CIO หรือหัวหน้าส่วนราชการ
3. เอกสารแสดงมาตรการ วิธีการ กลไก เครื่องมือในการรักษาความปลอดภัยของระบบเครือข่ายสื่อสารข้อมูลสารสนเทศ และแผนภาพแสดงกระบวนการรักษาความปลอดภัยของระบบเครือข่ายสื่อสารข้อมูลสารสนเทศ โดยได้รับการรับรองจาก CIO หรือหัวหน้าส่วนราชการ
ประเด็นที่ 5: ระดับความสำเร็จในการพัฒนาศูนย์ข้อมูลสารสนเทศและระบบแม่ข่ายจัดเก็บข้อมูลภาครัฐ
1. ศูนย์ข้อมูลสารสนเทศหรือระบบแม่ข่ายจัดเก็บข้อมูลภาครัฐกำหนดให้มีความต่อเนื่องในการให้บริการ (SLA) ไม่น้อยกว่าร้อยละ 99.5 (เอกสารแนบ)
2. แผนการบูรณาการศูนย์ข้อมูลสารสนเทศและ หรือระบบแม่ข่ายจัดเก็บข้อมูลภาครัฐกำหนดให้ดำเนินการภายในกระทรวง หรือร่วมกับหน่วยงานต้นสังกัด หรือหน่วยงานภาครัฐอื่นๆ (เอกสารแนบ)
3. มีการจัดทำแผนการสำรองข้อมูลร้อมกู้ข้อมูล ครอบคลุมเฉพาะส่วนที่ได้รับการพิจารณาแล้วว่ามีความสำคัญต่อการนำไปใช้ เพื่อเผยแพร่และบริการแก่ผู้ใช้ โดยมีระบบการจัดเก็บและประมวลผลข้อมูล (เอกสารแนบ)
1. รายงานสรุปการคำนวณความต่อเนื่องในการให้บริการตามสูตรที่กำหนด (เอกสารแนบ)
2. เอกสารแผนที่หน่วยงานมีการตกลงและบริหารจัดการระบบเครือข่ายข้อมูลสารสนเทศและ หรือระบบแม่ข่ายจัดเก็บข้อมูลภาครัฐ ร่วมกันภายในกระทรวง(เอกสารแนบ) หรือร่วมกับหน่วยงานต้นสังกัด หรือหน่วยงานภาครัฐอื่นๆ โดยได้รับการรับรองจาก CIO หรือหัวหน้าส่วนราชการ (เอกสารแนบ)
3. แผนการสำรองข้อมูลพร้อมกู้คืนข้อมูล และแผนภาพแสดงกระบวนการการสำรองและกู้คืนข้อมูล โดยได้รับการรับรองจาก CIO หรือหัวหน้าส่วนาราชการ(เอกสารแนบ)
ประเด็นที่ 6: ระดับความสำเร็จในการพัฒนาปรับปรุงระบบจดหมายอิเล็กทรอนิกส์
1. ประกาศนโยบายการใช้จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐของหน่วยงานกำหนดให้ใช้สำหรับข้าราชการและพนักงานของรัฐที่มีความจำเป็นตามลักษณะงาน
2. การจัดทำบัญชีรายชื่อผู้ใช้งานและจัดทำระบบสำรองข้อมูลของจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐที่กำหนดให้มีสำหรับข้าราชการ และพนักงานของรัฐที่มีความจำเป็นตามลักษณะงาน
3. มาตรการรักษาความปลอดภัย กำหนดให้ครอบคลุมการเฝ้าระวังในการตรวจจับ Virus และจดหมายขยะ เป็นอย่างน้อย
1. ประกาศนโยบายการใช้จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐที่กำหนดให้บุคลากรในหน่วยงานใช้ระบบจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ของหน่วยงาน (เอกสารแนบ)
2. เอกสารสรุปจำนวนผู้ใช้งานระบบจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐของหน่วยงานที่มีความจำเป็นตามลักษณะงาน และแผนภาพแสดงกระบวนการการสำรอง และกู้คืนข้อมูลของระบบจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ โดยได้รับการรับรองจาก CIO หรือหัวหน้าส่วนราชการ (เอกสารแนบ)
3. เอกสารแผน วิธีการ กลไก เครื่องมือ แนวนโยบายหรือแนวปฏิบัติในการรักษาความปลอดภัย และเฝ้าระวังในการตรวจจับ Virus และจดหมายขยะโดยได้รับการรับรองจาก CIO หรือหัวหน้าส่วนราชการ (เอกสารแนบ)
ประเด็นที่ 7: ระดับความสำเร็จในการเปิดเผยข้อมูลภาครัฐ (Open Data) ให้ประชาชนและภาคธุรกิจสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้
1. ส่วนราชการมีการจัดตั้งคณะกรรมการคณะทำงาน หรือผู้รับผิดชอบในการดำเนินงานเปิดเผยข้อมูลภาครัฐ
2. มีการคัดเลือกชุดข้อมูลที่มีต้องการเปิดเผย
3. มีกระบวนการปรับปรุงและจัดรูปแบบข้อมูลภาครัฐให้พร้อมที่จะเปิดเผยได้
4. มีการเปิดเผยข้อมูลได้อย่างน้อย 1 ชุดข้อมูล
5. มีการเปิดเผยข้อมูลได้อย่างน้อย 2 ชุดข้อมูล
1. คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการ คณะทำงาน หรือเอกสารการมอบหมายให้ดำเนินการเปิดเผยข้อมูลภาครัฐ (เอกสารแนบ)
2. บันทึกการประชุม บันทึกช่วยจำ สรุปการดำเนินการ หรือเอกสารรายงานการดำเนินการให้ผู้บังคับบัญชา หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบเกี่ยวกับการคัดเลือกชุดข้อมูล ที่ต้องระบุ ชื่อชุดข้อมูล ประโยชน์หรือคุณค่าในการนำไปใช้ และกลุ่มเป้าหมายที่คาดว่าจะนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ได้
3. บันทึกการประชุม บันทึกช่วยจำ สรุปการดำเนินการ หรือเอกสารรายงานการดำเนินการให้ผู้บังคับบัญชา หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบเกี่ยวกับการกำหนดกระบวนการปรับปรุง และจัดรูปแบบข้อมูลภาครัฐให้พร้อมที่จะเปิดเผยได้
4. และ 5. หลักฐานหน้าจอ (Capture) หรือ Link ที่แสดงการเปิดเผยข้อมูลภาครัฐ ตามจำนวนที่กำหนด (link หน้าจอระบบ)